...ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล๊อกของ นางสาวน้ำผึ้ง เพียรเสมอ

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

การออกแบบการเรียนการสอน


การออกแบบระบบการเรียนการสอน
(Instructional System  design)
            การออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional System design) มีชื่อเรียกหลากหลาย เช่น การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional design) การออกแบบและพัฒนาการสอน (Instructional design and development) เป็นต้น ไม่ว่าชื่อจะมีความหลากหลายเพียงใด แต่ชื่อเหล่านั้นก็มากจากต้นตอเดียวกัน คือมาจากแนวคิดในการใช้กระบวนการของวิธีระบบ (system approach
ความหมายของระบบ
            มีผู้ให้ความหมายขอคำว่า ระบบ (system) ไว้หลายคน เช่น บานาธี่ (Banathy, 1968) หรือ วอง (Wong, 1971)
            บานาธี่ ได้ให้ความหมายของคำว่าระบบว่า ระบบ หมายถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งองค์ประกอบทั้งหลายเหล่านี้จะร่วมกันทำงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้   ความหมายของระบบตามแนวทางของวองก็จะมีลักษณะแนวทางใกล้เคียงกับของบานาธี่ โดยวองให้ความหมายของระบบวา ระบบ หมายถึง การรวมกลุ่มของส่วนประกอบต่างๆ ที่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้
            จากความหมายข้างต้น สามารถสรุปได้ว่าระบบจะต้องมี
1.            องค์ประกอบ
2.            องค์ประกอบนั้นต้องมีความสัมพันธ์ มีการโต้ตอบ มีปฏิสัมพันธ์กันและ
3.            ระบบต้องมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมนั้น ๆ

จากวิธีระบบสู่ระบบการเรียนการสอน
แนวคิดของวิธีระบบ ถือได้ว่าเป็นรากฐานของระบบการเรียนการสอน โดยเฉพาะความเชื่อที่ว่า ระบบจะประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ทำงานสัมพันธ์กัน  และระบบสามารถปรับปรุง  ปรับทิศทางของตนเองได้ จากการตรวจสอบจากข้อมูลป้อนกลับ (Feedback)
            วิธีระบบถูกนำมาใช้ในระบบการศึกษาและได้รับการพัฒนา  ปรับปรุงขึ้นเป็นลำดับ  โดยได้มีผู้พัฒนารูปแบบการสอน  (Model)  ขึ้นหลากหลายรูปแบบ รูปแบบเหล่านี้เรียกชื่อว่า ระบบการออกแบบการเรียนการสอน (instructional design systems)    หรือเรียกสั้นลงไปอีกว่า การออกแบบการเรียนการสอน (instructional design)
การออกแบบการเรียนการสอนจะประกอบด้วยองค์ประกอบที่เป็นขั้นตอนต่าง ๆ ที่อาศัยหลักการและทฤษฎีสนับสนุนจากองค์ความรู้และการวิจัยทางการศึกษา
จนถึงปัจจุบันนักการศึกษาได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน (Instructional model)   ขึ้นมากกว่า 50 รูปแบบ รูปแบบเหล่านี้ได้รับการตรวจสอบ ทดสอบ และการปรับปรุงมาแล้วก่อนที่จะเป็นรูปแบบที่สมบูรณ์ที่เชื่อได้ว่า ถ้านำไปใช้แล้วจะทำให้ประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการสอนอย่างสูงสุด
ประสิทธิผลและประสิทธิภาพนี้จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนไม่ว่าจะใช้กับจุดมุ่งหมายในการสอนลักษณะใด ผู้เรียนที่แตกต่างกันเพียงไร  สถานการณ์สิ่งแวดล้อมหรือสื่อการสอนที่แตกต่างกันออกไป
รูปแบบอันหลากหลายนี้จะมีความแตกต่างกันออกไปในรายละเอียด แต่เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วจะเห็นว่า ความแตกต่างนั้นมีไม่มากนัก รูปแบบการเรียนการสอนนี้สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนหรือการฝึกอบรม  ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องของการเรียนการสอนโดยตรง  เช่น  สามารถนำไปใช้ในโรงงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน  ใช้ในโรงพยาบาล  สถานีตำรวจ  ธนาคารหรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง  กับการให้ความรู้  การเปลี่ยนทัศนคติ  หรือการฝึกทักษะต่าง ๆ

ปัญหาในระบบการเรียนการสอน
            เป้าหมายหลักของครูหรือนักฝึกอบรมในการสอน  คือการช่วยให้ผู้เขียนหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้  และในการช่วยให้เกิดการเรียนรู้นี้มีปัญหาหลัก ๆ อยู่หลายประการที่ผู้ออกแบบการเรียนการสอนจะต้องตระหนักและพยายามหลีกเลี่ยง ปัญหาดังกล่าวคือ
1.            ปัญหาด้านทิศทาง  (Direction)
2.            ปัญหาด้านการวัดผล  (Evaluation)
3.            ปัญหาด้านเนื้อหาและการลำดับเนื้อหา  (Content  and  Sequence)
4.            ปัญหาด้านวิธีการ  (Method)
5.            ปัญหาข้อจำกัดต่าง ๆ  (Constraint)
           
องค์ประกกอบของการออกแบบการเรียนการสอน
            ดังได้กล่าวข้างต้นว่า  การออกแบบการเรียนการสอนให้หลักการแนวทางของระบบ  ดังนั้นในการออกแบบการเรียนการสอนจึงประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ  ที่สัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ได้  และในกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนก็จะมีกลไกในการปรับปรุงแก้ไขตัวเอง อันได้แก่  กระบวนการใช้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback)  จากการประเมินผลที่เรียกว่า การประเมินผลเพื่อการปรับปรุง (formative evaluation) 
เนื่องจากมีรูปแบบ (Model)   สำหรับนำไปใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนอยู่มากมายจึงมีความหลากหลายในองค์ประกอบในรูปแบบนั้น ๆ แต่อย่างไรก็ตาม รูปแบบการเรียนการสอนใด ๆ ก็จะยึดแนวทางของรูปแบบดั้งเดิม (generic model)  

รูปแบบดั้งเดิม  (Generic model) 
1.            การวิเคราะห์  (Analysis)
2.            การออกแบบ  (Design)
3.            การพัฒนา  (Development)
4.            การนำไปใช้  (Implementation)
5.            การประเมินผล  (Evaluation)

กระบวนการจัดการเรียนรู้
            1.  กำหนดจุดประสงค์และสาระสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้
            2.  วิเคราะห์จุดประสงค์ สื่อและสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งศักยภาพของผู้เรียนและผู้สอน
            3.  ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์
            4.  ออกแบบปฏิสัมพันธ์ในแต่ละกิจกรรมการเรียนรู้ โดยเลือกใช้กระบวนการกลุ่มที่เหมาะสมกับกิจกรรมนั้น ๆ
            5.  เตรียมใบช่วยสอน สื่อ/อุปกรณ์ และแหล่งการเรียนรู้อื่น ๆ
            6.  ออกแบบการประเมินผลและเครื่องมือ
            7.  จัดการเรียนรู้และบันทึกผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้
            8.  ปรับปรุงและพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้

องค์ประกอบการเรียนรู้
            เป็นโครงสร้างของกระบวนการเรียนรู้  ที่จะช่วยให้ผู้เรียนทุกคนบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ตามศักยภาพ  ซึ่งจากการวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญรูปแบบต่าง ๆ พบว่ามีโครงสร้างพื้นฐานร่วมกัน 4 องค์ประกอบ คือ
            1.  การแลกเปลี่ยนประสบการณ์
            2.  การสร้างความรู้ร่วมกัน
            3.  การนำเสนอความรู้
            4.  การประยุกต์ใช้หรือลงมือปฏิบัติ
องค์ประกอบนี้ทำให้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนและผู้สอน ดังนี้
            ผู้เรียน  รู้สึกว่าตนมีความสำคัญเพราะได้มีส่วนร่วมในฐานะสมาชิก  มีผู้ฟังเรื่องราวของตนเองและได้รับรู้เรื่องราวของคนอื่น  นอกจากจะได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์แล้วยังทำให้สัมพันธภาพในกลุ่มผู้เรียนเป็นไปด้วยดี
            ผู้สอน  ไม่เสียเวลาในการอธิบายหรือยกตัวอย่าง  เพียงแต่ใช้เวลาเล็กน้อยในการกระตุ้นให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน  และยังช่วยให้ผู้สอนได้ทราบถึงความรู้พื้นฐานและประสบการณ์เดิมของผู้เรียน  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่อไป
ด้านความรู้  เป็นประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับเนื้อหาที่จะสอน
            ด้านเจตคติ  เป็นการจัดประสบการณ์ด้านอารมณ์ความรู้สึกให้ผู้เรียน  เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกสอดคล้องกับจุดประสงค์  และนำไปสู่การสะท้อนความคิดเห็นและอภิปรายเกี่ยวกับความคิดความเชื่อต่อไป
            ด้านทักษะ  เป็นการให้ผู้เรียนได้ทดลองทำทักษะนั้น ๆ ตามประสบการณ์เดิมหรือสาธิตการทำทักษะเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจชัดเจน

            2.  การสร้างความรู้ร่วมกัน
            เป็นองค์ประกอบที่จะช่วยให้ผู้เรียนได้คิด  วิเคราะห์  สังเคราะห์  สร้างสรรค์มวลประสบการณ์ข้อมูล  ความคิดเห็น  ฯลฯ  เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถ่องแท้ชัดเจน  หรือเกิดข้อสรุป/ความรู้ใหม่หรือตรวจสอบ/ปรับ/เปลี่ยนความคิดความเชื่อของตนเอง
ด้านความรู้  ตั้งประเด็นให้อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  เพื่อสรุปความรู้ใหม่ที่ได้ผ่านกระบวนการคิด  วิเคราะห์  สังเคราะห์  นำไปสู่การเกิดความคิดรวบยอดในเรื่องนั้น ๆ ตัวอย่างเช่น การสรุปสาระสำคัญ  การวิเคราะห์  กรณีศึกษา  การวิเคราะห์เปรียบเทียบ  การวิเคราะห์แยกประเภทหรือจัดกลุ่มการวิเคราะห์ประเด็นความรู้เพื่อหาข้อสรุปและนำไปสู่ความคิดรวบยอด ฯลฯ
            ด้านเจตคติ  ตั้งประเด็นอภิปรายที่ท้าทาย  กระตุ้นให้เกิดการคิดหลากหลาย เน้นในเรื่องคุณค่าอารมณ์ความรู้สึก  ความคิดความเชื่อ  มีความสอดคล้องกับความรู้สึกของผู้เรียนและนำไปสู่จุดประสงค์ที่ต้องการ  ข้อสรุปจากการอภิปรายและความคิดรวบยอดที่ได้จะสอดคล้องกับจุดประสงค์ที่กำหนด
            ด้านทักษะ  ตั้งประเด็นให้อภิปรายโต้แย้งกันในเรื่องขั้นตอนการลงมือทำทักษะ  เพื่อให้เกิดความเข้าใจถ่องแท้ในแนวทางปฏิบัติทักษะนั้น และเกิดความมั่นใจก่อนจะได้ลงมือฝึกปฏิบัติจนชำนาญ

            3.  การนำเสนอความรู้
            เป็นองค์ประกอบที่เน้นให้ผู้เรียนได้รับข้อมูลความรู้  แนวคิด  ทฤษฎี  หลักการ  ขั้นตอน  หรือข้อสรุปต่าง ๆ โดยครูเป็นผู้จัดให้เพื่อใช้เป็นต้นทุนในการสร้างความรู้ใหม่หรือช่วยให้การเรียนรู้บรรลุจุดประสงค์
            กิจกรรมในองค์ประกอบนี้ ได้แก่
            -  การให้แนวคิด ทฤษฎี  หลักการ  ข้อมูลความรู้  ขั้นตอนทักษะ  ซึ่งทำได้โดยการบรรยาย  ดูวีดีทัศน์  ฟังแถบเสียง  อ่านเอกสาร/ใบความรู้/ตำรา  ฯลฯ
            -  การรวบรวมประสบการณ์ของผู้เรียนที่เป็นผลให้เกิดการเรียนรู้เนื้อหาสาระเพิ่มขึ้น
            -  ความคิดรวบยอดที่ได้จากการรวบรวมข้อสรุปของการสะท้อนความคิดและอภิปรายประเด็นที่ได้มอบหมายให้
            กิจกรรมเหล่านี้ควรทำเป็นขั้นตอนและประสานกับองค์ประกอบการเรียนรู้อื่น ๆ โดยมีจุดเน้นสำหรับจุดประสงค์การเรียนรู้แต่ละด้าน ดังนี้
            ด้านความรู้  ผู้เรียนเกิดความรู้ในเนื้อหาสาระ  ข้อมูลความรู้อย่างชัดเจน
            ด้านเจตคติ  ผู้เรียนเกิดความรู้สึกและความคิดความเชื่อที่สอดคล้องกับจุดประสงค์ที่กำหนดให้
            ด้านทักษะ  ผู้เรียนรับรู้แนวทางปฏิบัติตามขั้นตอนของทักษะนั้น ๆ อย่างชัดเจน

            4.  การประยุกต์ใช้หรือลงมือปฏิบัติ
            เป็นองค์ประกอบที่ผู้เรียนได้นำความคิดรวบรวมหรือข้อสรุป  หรือความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นไปประยุกต์หรือทดลองใช้  หรือเป็นการแสดงผลสำเร็จของการเรียนรู้ในองค์ประกอบนั้น ๆ ซึ่งผู้สอนสามารถใช้กิจกรรมในองค์ประกอบนี้ในการประเมินผลการเรียนรู้  เมื่อพิจารณาให้ดีจะเห็นว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่จะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รู้จักการนำไปใช้ในชีวิตจริง ไม่ใช่แค่เรียนรู้เท่านั้น
            ด้านความรู้  เป็นการผลิตซ้ำความคิดรวบยอดในรูปแบบต่าง ๆ เช่น สร้างคำขวัญ  ทำแผนภาพ  จัดนิทรรศการ  เขียนเรียงความ  ทำรายงานสรุปสาระสำคัญ  ทำตารางวิเคราะห์/เปรียบเทียบ ฯลฯ
            ด้านเจตคติ  เป็นการแสดงออกที่สอดคล้องกับเจตคติที่เป็นจุดประสงค์การเรียนรู้  เช่น  เขียนจดหมายให้กำลังใจผู้ติดเชื้อเอดส์  สร้างคำขวัญรณรงค์รักษาความสะอาดในโรงเรียน ฯลฯ
            ด้านทักษะ  เป็นการลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนทักษะที่ได้เรียนรู้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น